หน้าหลัก

งานประชุมวิชาการ NCTechED17

ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่เพียงแต่เป็นทางเลือกแต่กลายเป็นกุญแจสำคัญสำหรับความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ การปรับตัวให้ทันกับนวัตกรรมและความท้าทายใหม่ ๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในแนวโน้มสำคัญที่ส่งผลต่อการศึกษา โดยเฉพาะในด้านวิศวกรรม คือการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาปรับใช้เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล AI และอัลกอริธึมการเรียนรู้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนและเสนอแนวทางที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลได้แบบเรียลไทม์ ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการเฉพาะตัว 

    การศึกษาด้านวิศวกรรม (Engineering Education) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี วิศวกรเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทในการออกแบบ พัฒนา และบูรณาการโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล  สำหรับประเทศไทย การส่งเสริมการศึกษาด้านวิศวกรรมมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก รวมถึงสนับสนุนโครงการพัฒนาประเทศ เช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งต้องการบุคลากรที่มีทักษะสูงและสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, IoT และระบบอัตโนมัติ  นอกจากนี้ Engineering Education ยังช่วยส่งเสริมทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหา และการพัฒนานวัตกรรม การผสมผสาน AI ในการศึกษาด้านวิศวกรรมจะช่วยสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในระยะยาว  มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 ระบบการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะมีความซับซ้อนมากขึ้นโดยสามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาและแนวทางการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้เรียนในขณะนั้นได้ทันที การพัฒนานี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการศึกษาในสายวิศวกรรมและเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับมือกับความท้าทายของยุค AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 

    คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มุ่งมั่นพัฒนาจัดการศึกษาทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดระยะเวลากว่า 55 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้ง ด้วยความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างรัฐบาลไทย กับ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายทอดความรู้ทางด้านความเป็น “ครูช่าง” และส่งเสริมการศึกษาที่เน้น Engineering Education รวมทั้งส่งเสริมให้คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ให้มีความพร้อมรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมและบริการที่ต้องใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการผลิตและพัฒนาครูผู้สอนและผู้เรียนที่มีคุณภาพ

    คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มุ่งมั่นพัฒนาจัดการศึกษาทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดระยะเวลากว่า 55 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งด้วยความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างรัฐบาลไทย กับ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายทอดความรู้ทางด้านความเป็น “ครูช่าง” รวมทั้งส่งเสริมให้คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ให้มีความพร้อมรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมและบริการที่ต้องใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการผลิตและพัฒนาครูผู้สอนและผู้เรียนที่มีคุณภาพการประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 17 และการประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับนานาชาติ ครั้งที่ 12 ในหัวข้อเรื่อง “The AI Enhanced Engineering and Education” จึงเป็นอีกบทบาท

หนึ่งของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่เปิดโอกาสและส่งเสริมให้นักวิชาการมีเวทีนำเสนอผลงานวิจัย สร้างเครือข่ายระหว่างภาคการผลิตและสถาบันการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ อันนำไปสู่แนวทางการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ การผสมผสานเทคโนโลยีและต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและโลกในอนาคต

    การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 17  ซึ่งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้ร่วมกับ สมาคมครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมในสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณาจารย์ 
    นักการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

     2. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ อันนำไปสู่แนวทางการวิจัย
เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ การผสมผสานเทคโนโลยีและต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและโลกในอนาคต

     3. เพื่อสร้างเครือข่ายความรู้ด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมให้แก่คณาจารย์ นักการศึกษา นักวิชาการ  นักวิจัย  นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ